Is it all RIGHTS? by TLHR
พอดแคสต์ที่จะนำกฎหมายมาเล่า เม้าท์เรื่องสิทธิ และชวนคุณตั้งคำถามถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ว่าถูกต้องไหม? มันใช่หรอ? หรือจริงๆ แล้วเรากำลังถูกละเมิดสิทธิอยู่หรือเปล่า... ดำเนินรายการโดย พูนสุข พูนสุขเจริญ (เมย์) และ วรรณิดา อาทิตยพงศ์ (ณิ) ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน (TLHR)
Episodes
Thursday Jul 23, 2020
Thursday Jul 23, 2020
Is it all rights? ชวนไผ่ ดาวดิน คุยถึงปรากฏการณ์ม็อบนักศึกษาที่เกิดขึ้นในตอนนี้ ไล่ไปตั้งแต่หลังยุบพรรคอนาคตใหม่ #ไม่ถอยไม่ทน ไฟจุดติดพรึบพรับ ก่อนจะหยุดลงเพราะโควิด และกลับมามาลุกโชนอีกครั้ง ในชุมนุมเยาวชนปลดแอก #ให้มันจบที่รุ่นเราที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อเสาร์ที่ 18 ก.ค. ผ่านมา
พร้อมๆ กับคำถามที่เกิดขึ้น ความหวังยังมีได้ไหม? ม็อบจุดติดแล้วเดี๋ยวจะดับอีกรึเปล่า? อยากทำอะไรสักอย่าง ไปชุมนุมเปลี่ยนแปลงอะไรได้จริงหรือ?
Tuesday May 26, 2020
Tuesday May 26, 2020
Podcast ตอนนี้ เราจะพาไปสำรวจว่า การใช้อำนาจสถานการณ์ฉุกเฉินเพื่อรับมือกับโรคระบาดในประเทศอื่นๆ ในโลก เขาจัดการกันอย่างไรโดยที่ประชาชนยังมีส่วนร่วมได้ เขาชั่งน้ำหนักระหว่าง “เสรีภาพ” กับ “สุขภาพ” อย่างไร จริงๆ แล้วสองอย่างนี้มันไปควบคู่กันได้ไหม เพื่อให้เราเห็นตัวเลือกอื่น แล้วชวนกลับมาย้อนมองบ้านเรา ที่นายกรัฐมนตรีชูหลัก “สุขภาพนำเสรีภาพ” และกำลังจะต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉินเป็นครั้งที่ 2...
Sunday Apr 05, 2020
Sunday Apr 05, 2020
พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ คืออะไร? การประกาศใช้ครั้งนี้ มีผลยังไงและมีนัยยะสำคัญยังไงบ้าง เป็น "ยาแรง"ที่แก้ปัญหาได้จริงหรือไม่? และข้อสังเกตทางกฏหมายที่มีต่อการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในครั้งนี้ จากนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน เมย์ พูนสุข พูนสุขเจริญ รวมถึงประสบการณ์การจากทนายแอน ภาวิณี ชุมศรี ทนายความประจำศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ถึงปัญหา การใช้อำนาจล้นเกิน การใช้เพื่อกำจัดคนเห็นต่าง จากการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ครั้งที่ผ่านมาของทั้งกรณี 3 จังหวัดชายแดนใต้ และในปี 2553
Wednesday Feb 19, 2020
Wednesday Feb 19, 2020
อีกไม่กี่วันศาลรัฐธรรมนูญจะนัดอ่านคำวินิจฉัยยุบพรรคอนาคตใหม่ กรณีธนาธรปล่อยเงินกู้ให้พรรคตัวเอง พ็อดแคสตอนนี้เลยจะมาชวนคุยความเป็นมาของกฏหมายยุบพรรค การยุบพรรคการเมืองในไทย เปรียบเทียบกับกรณีการยุบพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นในเยอรมัน เกาหลี และกัมพูชา พรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่แท้ควรเติบโตอย่างไร และกลับมาที่ของไทยเรา กรณีพรรคอนาคตใหม่นี้จะเป็นเหตุให้ยุบพรรคได้ไหม และเราประชาชนธรรมดาจะวิพากษ์วิจารณ์ศาลได้มากน้อยแค่ไหน ติดตามได้ในตอนนี้เลย
Friday Feb 14, 2020
Friday Feb 14, 2020
12 ม.ค.63 ที่ผ่านมา กลายเป็นวันสำคัญของการแสดงออกทางการเมืองครั้งใหญ่ จากการลุกขึ้นมาออก “วิ่งไล่ลุง” 39 จังหวัดที่จัด ผู้เข้าร่วมในกทม.เรือนหมื่น ยังไม่รวมในตจว.ที่มีตั้งแต่หลักสิบถึงหลักร้อย แต่การออกวิ่งครั้งนี้ล้วนเต็มไปด้วยขวากหนาม TLHR จึงชวน นพพล อาชามาส ผู้ติดตามปรากฏการณ์นี้อย่างใกล้ชิด มาชวนคุยเรื่องการละเมิด กีดกั้น กดดันของจนท.รัฐ เพื่อเรียนรู้ บันทึก และหาทางไม่ให้เหตุการณ์ละเมิดที่ไม่ควรเป็นเรื่องปกตินี้เกิดขึ้นอีก
Wednesday Feb 12, 2020
Wednesday Feb 12, 2020
ตอนนี้เรามีแขกรับเชิญพิเศษ คุยกับ ทนายรอน นรเศรษฐ นาหนองตูม ทนายความประจำ #TLHRชวนคุยเรื่อง พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 หลังจากที่ผ่านการชุมนุม flash mob ที่สกายวอร์ค เมื่อปลายปีที่แล้ว ต่อด้วย #วิ่งไล่ลุง เมื่อต้นปี โดยมีการเรียกดำเนินคดีทั้งผู้จัดและผู้ชุมนุมโดยใช้ข้อหาตาม พ.ร.บ.ชุมนุมฯ กฏหมายฉบับนี้ถูกนำมาใช้เพื่อการปิดกั้นเสรีภาพการชุมนุมอย่างต่อเนื่อง และมีทีท่าว่าจะใช้ต่อไป
แล้วทีนี้จะชุมนุมอย่างไรให้ถูกกฎหมาย ติดตามได้ในตอนนี้เลย #การชุมนุมเป็นสิทธิ
Wednesday Dec 11, 2019
Wednesday Dec 11, 2019
นอกจากเราจะมีกฎหมายพิเศษที่มีมาร้อยกว่าปีอย่างกฎอัยการศึกแล้ว ทุกวันนี้เรายังมีกฎหมายพิเศษที่ออกมาอีกเป็นจำนวนมากในยุค คสช. ที่ออกมาตามมาตรา 44 ถ้าเราไม่ตระหนักถึงการมีอยู่และไม่หาทางจัดการ ก็จะยังเหมือนอยู่ภายใต้การปกครองของ คสช. เราจะหาทางจัดการกับผลพวงของมันหรือเราจะอยู่กับมันต่อไป? ถ้าไม่อยากอยู่กันต่อจะจัดการอย่างไร เราคงช่วยกันหาคำตอบได้หลังเรารู้ว่ามันกระทบกับเราอย่างไร
Thursday Nov 21, 2019
Thursday Nov 21, 2019
เสียงปืนหนึ่งนัดที่ดังขึ้นในศาลจังหวัดยะลา เมื่อ 4 ต.ค. ที่ผ่านมา ดังก้องไปถึงคนทั้งประเทศ ทว่าหลังผ่านมา 1 เดือน เรื่องกลับเงียบหายลง... ทั้งที่ในวงตุลาการ ถือเป็นเรื่อง "ช็อกวงการ" ที่มีการใช้ความรุนแรง และสื่อสารกับคนข้างนอกผ่านคำแถลงการณ์ 25 หน้า ชวนคุยกันว่า สิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในกระบวนการยุติธรรมอย่างไรบ้าง เริ่มตั้งแต่เรื่อง ความอิสระของผู้พิพากษา ปัญหากฏหมายพิเศษในสามจังหวัดชายแดนใต้ ที่ลามเลยมาถึงกลายเป็นโมเดลที่มาใช้กับส่วนกลางปัจจุบันเช่นกัน